วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทบาทของ Social network




             บทบาทของ Social network 

              ด้วยลักษณะสำคัญของ Social network คือ การมีปฏิสัมพันธ์ของคนในระบบเครือข่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เมื่อมีปริมาณจำนวนคนในเครือข่ายจำนวนมากจะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมจริงได้   รูปข้างล่างแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
หากจะจำแนกลักษณะของ Social network ที่ถูกนำเสนอผ่านทาง Social media สามารถสรุปได้ดังนี้คือ
             1) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือภายในเครือข่าย โดยผู้ใช้สร้างโปรไฟล์ของตนเอง และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น Facebook, My space เป็นต้น
             2) การเผยแพร่ความรู้ความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะอยู่ในลักษณะของเว็บบล็อกต่างๆ
             3) การเผยแพร่ข้อความสั้น เช่น twitter เป็นต้น
             4) การเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น เว็บ Wikipedia
             5) การเผยแพร่เนื้อหาเฉพาะ การเผยแพร่ภาพ เสียง วีดิโอ เช่น เว็บ YouTube, Flickr เป็นต้น
ด้วยความหลากหลายของการเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก เป็นผลให้มีการนำ Social network ไปใช้ในงานต่างๆ และที่เห็นผลเป็นรูปธรรมมาก เช่น ในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของบารัก โอบามา ซึ่งสามารถสร้างกระแสนิยมได้เป็นอย่างดี


การใช้งานบนโลกออนไลน์ของคนไทย

            สถิติการใช้เน็ตของคนไทย
            สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) แจ้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตในเมืองไทยว่า ล่าสุดคนไทยประมาณ 30% ใช้งานเน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ เฉลี่ยสูงถึง 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คนไทยใช้ อินเตอร์เน็ต

            หรือพูดอีกอย่าง เท่ากับเวลานี้มีคนไทยราว 21 ล้านคน ใช้เวลาประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน (เกือบ 1 ใน 3 วัน) อยู่กับอินเตอร์เน็ต ทั้งเพื่อความบันเทิง ขายสินค้า หาข้อมูล หรือใช้เพื่อการอื่นใดก็ตาม โดยนิยมใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากกว่าใช้ผ่านช่องทางอื่นๆ 
เฉพาะการใช้งาน "เน็ต" ผ่านโทร มือถือ เพื่อพูดคุย ในโซเชียว มีเดีย หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท เฟซบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ หรือ อิสตาแกรม (ไอจี) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสูงสุดถึง 78.2% สัดส่วนการใช้เน็ตผ่านมือถือ เพื่ออ่านข้อมูลข่าวสาร มีเพียง 57.6% และใช้เพื่อ การค้นคว้าหาความรู้ มีแค่ 56.5% เทียบกับการใช้งานผ่านทางคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ถูกใช้เพื่อการ รับ-ส่งอีเมล์ มากที่สุดถึง 82.6% ใช้เพื่อค้นคว้าข้อมูลต่างๆ 73.3% และใช้เพื่ออ่านข่าวสารอีก 63.8%

              จะเห็นได้ว่ายิ่งสื่อสังคมออนไลน์เปิดโอกาสมากขึ้น ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการใช้งานอินเตอร์เน็ตในสังคมไทยและสังคมโลกด้วยอัตราเติบโตที่ก้าวกระโดดมากขึ้น


ขอบคุณข่าวจากไทยรัฐ

ข้อดีข้อเสียของ Social networks

               ข้อดีของSocial networks เครือข่ายสังคมออนไลน์
1.  สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
2.  เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ
3.  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
4.  เป็นสื่อในการนาเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
5.  ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
6.  ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น
7.  คลายเครียดได้สาหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ
     8.  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้




                   ข้อเสียของSocial networks เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนามาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
2. Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
4. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networkยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กาหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
5. ผู้ใช้ที่เล่น socialnetwork และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้
6. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ socialnetwork มากเกินไปอาจทาให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่าลงได้
          7.  จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์

บทความสังคมออนไลน์

              สังคมออนไลน์ก็เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านมีทั้งด้านดีและด้านเสีย หากคนที่นำไปใช้ในทางที่ดีก็จะก่อให้เกิดผลดีแก่ตัวบุคคลเป็นอย่างมากแต่หากนำไปใช้ในทางไม่ดีก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดี Social Midia ก็ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างที่ใช้กันบ่อยในปัจจุบัน Facebook Instagram twitter Line YouTube จะว่าได้อีกอย่างโลกออนไลน์เป็นโลกที่ไร้พรมแดน ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆในการใช้งาน คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อสื่อสารพูดคุยแบบส่วนตัว ใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ ใช้ทำธุระกิจเสนอขายสิ้นค้า

             

            

             ไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหนของโลก เครือข่ายออนไลน์ก็เข้าไปได้ทั่วถึงหมด คนส่วนมากก็จะจับจ้องเพียงหน้าจอโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ อาจจะทำให้เป็นคนโลกส่วนตัวสูง เพ้อฝันจินตนาการ หรือโลกซึมเศร้า หมกมุ่นอยู่กับโลกออนไลน์จนไม่สนใจบุคคลที่อยู่ข้างกายที่สำคัญกว่าคนในโลกออนไลน์ที่ไม่รู้เลยว่าเขาเป็นคนอย่างไรในความเป็นจริง นี้ก็เป็นสิ่งที่ควรคิดก่อนจะติดคนใน Social Network มันอาจทำให้เราเสียอนาคตเสียคนที่รักเลยก็ว่าได้ อย่างไรก็ดีควรจะระลึกอยู่เสมอว่าโลกออนไลน์ไม่ใช่โลกในชีวิตจริง
        การใช้สื่อเครือข่ายออนไลน์ในการเรียนรู้เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนที่อยู่ในถิ่นธุระกานดารยากจนไม่สามารถไปเรียนในโรงเรียนตัวเมืองซึ่งอยู่ห่างจากถิ่นที่อยู่อาศัยได้หรือแม้แต่บุคคลทั่วไปทีต้องการความรู้เพิ่มเติม สามารถที่จะเรียนผ่านเครือข่ายออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และสำหรับบุคลากรทางการศึกษาก็สามารถที่จะเผยแพร่ความรู้ของตนเองให้กับบุคคลเหล่านี้ได้รับรู้ได้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมออนไลน์


สังคมออนไลน์กับการศึกษา


สังคมออนไลน์กับการศึกษา

1) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน
เนื่องจากบรรยากาศของเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารผ่านภายมิติความสัมพันธ์ของคนในเครือข่าย ด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็จะนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในสังคมจริงในทิศทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริง นอกจากนี้ลักษณะการนำเสนอข้อมูล สถานภาพที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมและประสานข้อมูลได้อย่างทันท่วงที

2) การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวางการตั้งประเด็นแลกเปลี่ยน ข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำได้อย่างทันท่วงที และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง


3) การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อกเป็นระบบที่ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานตามความถนัดและความสนใจของทั้งผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลางของเว็บ Facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น




วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Social Media คืออะไร




สังคมออนไลน์ (social  Media) 

        Social  Media คืออะไร?

        สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ
        คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
        คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
        ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โ้ต้ตอบกันได้นั่นเอง
        พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ





Cyberbullying ภัยบนโลกออนไลน์

Cyberbullying คืออะไร ?

          Cyberbullying คือ การรังแกของเด็กและเยาวชนในยุคไฮเทค เป็นกรณีพิพาทระหว่างเด็กกับเด็กด้วยกัน โดยที่ใช้เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม แชท หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือหลักในการรังแกและกลั่นแกล้งกัน โดยการกลั่นแกล้งนี้สามารถทำได้ 24 ชั่วโมง ต่างจากสมัยก่อนที่เด็ก ๆ จะรังแกกันได้ในโรงเรียนหรือแบบซึ่ง ๆ หน้าเท่านั้น 
    
Cyberbullying เป็นการกลั่นแกล้งกันแบบไหน ?

          การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ สามารถแตกประเด็นออกไปได้ 6 รูปแบบดังนี้

1. การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย

          การโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย หรือขู่ทำร้าย ผ่านช่องทางการสนทนา หรือโพสต์อย่างโจ่งแจ้งที่หน้าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ เช่น แชทเฟซบุ๊กหรือไลน์มาว่าจะดักทำร้าย เมื่อเจอหน้ากันที่โรงเรียนหรือที่ไหนก็ตาม เป็นต้น


2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์


          โดยการพูดจาคุกคามทางเพศผ่านโซเชียลมีเดีย การบังคับให้แสดงกิจกรรมทางเพศผ่านกล้อง การส่งภาพหรือวิดีโอโป๊เปลือยมาให้โดยที่ผู้รับไม่ได้ต้องการ การแฉหรือตัดต่อภาพโป๊เปลือยไปโพสต์ในโซเชียลเพื่อให้ได้รับความอับอาย เป็นต้น

3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น

          โดยเฉพาะกรณีเปิดเผยรหัสผ่านของโซเชียลให้ผู้อื่นรู้ ยกตัวอย่างเช่น ให้เพื่อนสมัครเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้ เคสนี้ก็อาจโดนรังแกด้วยการถูกสวมรอยใช้เฟซบุ๊กของตัวเองโพสต์ข้อความหยาบคาย ให้ร้ายบุคคลอื่น โพสต์รูปโป๊ คลิปวิดีโอลามก หรือสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ

4. การแบล็กเมล์กัน
    
          โดยนำความลับหรือภาพลับของเพื่อนมาเปิดเผยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง หรือการใส่ร้ายป้ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพน่าเกลียด ๆ หรือการแอบถ่ายภาพหลุดที่น่าขำมาโพสต์ประจาน และแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนานเกินเลย

5. การหลอกลวง
    
          มีทั้งการหลอกลวงให้หลงเชื่อ ให้ออกมานัดเจอเพื่อทำมิดีมิร้าย หรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ 

6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ

          อย่างที่เราเห็นคนตั้งเพจแอนตี้ โจมตีบุคคลหนึ่งขึ้นมา มีการจับผิดทุกอิริยาบถ แล้วนำมาถกประเด็นให้เกิดความเสียหายต่อคนที่ตัวเองไม่ชอบ หรืออาจมีการโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ และกีดกันให้ออกจากกลุ่ม จากสังคมที่อยู่

          ทั้งนี้การกระทำที่เข้าข่าย Cyberbullying จะเกิดจากเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ และเสียใจ ดังนั้นการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์จึงมักจะเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกนะคะ

                         Cyberbullying



Cyberbullying สาเหตุคืออะไร

          สาเหตุของการเกิด Cyberbullying มีทั้งเริ่มจากความขัดแย้งเล็ก ๆ ระหว่างเด็กกับเด็ก ความหมั่นไส้กัน หรือมีกรณีพิพาทเรื่องชู้สาว อันเป็นชนวนของการรังแกกันต่อในโลกออนไลน์ เนื่องจากพื้นที่บนโลกออนไลน์ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความกล้าที่จะรังแกกันมากขึ้น
    
          นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังเข้าใจว่าโซเชียลคือพื้นที่ระบายความรู้สึก ถ้อยคำที่ใช้โพสต์ หรือพฤติกรรมในการกลั่นแกล้งกันจึงออกแนวรุนแรง แสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเทคโนโลยียังเอื้อให้การทำร้ายกันผ่านโซเชียลเป็นเรื่องง่าย แค่พิมพ์ข้อความไป ไม่ต้องเสียกำลังอะไรก็โพสต์เสียดสีหรือสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายได้แล้ว 
Cyberbullying ใครเสี่ยงบ้าง

    
          ข้อมูลจากชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยเผยว่า จากการสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า มีเด็กราว ๆ 48% ที่อยู่ในวงจร Cyberbullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ หรือเป็นเพียงผู้ที่พบเห็นการรังแกกันผ่านโลกโซเชียล และเด็กส่วนใหญ่อยู่ในชั้นมัธยมต้น
    
          อย่างไรก็ตาม แม้สื่อสังคมออนไลน์จะระบุอายุของผู้ใช้งานไว้ที่ 13 ปี เหมาะสมตามที่ชมรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ทว่าก็มีเด็กอายุต่ำกว่ากำหนดจำนวนไม่น้อยที่โกงอายุตัวเองเพียงเพื่อให้สมัครเข้าใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้ ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปียังไม่สมควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ เพราะเสี่ยงที่จะได้รับข้อมูลอันตราย อีกทั้งเด็กยังไม่อยู่ในวัยที่จะมีทักษะควบคุมหรือป้องกันตัวเองจากการกลั่นแกล้งเหล่านี้ได้ และอาจตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ในที่สุด


Cyberbullying

พ่อแม่จะสังเกตอาการ Cyberbullying ได้อย่างไร
    
          ในฐานะผู้ปกครอง เราอาจสังเกตอาการ Cyberbullying ของบุตรหลานได้จากสัญญาณต่อไปนี้

          - มีอาการซึมเศร้า เครียด หรือมีความวิตกกังวล
          - เด็กกลายเป็นคนชอบเก็บตัว ไม่ค่อยพูดจา วัน ๆ เล่นแต่มือถือหรือแท็บเล็ต
          - ทำตัวห่างเหินจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนที่โรงเรียน
          - ไม่อยากไปโรงเรียน แอบหนีเรียนบ่อย ๆ 
          - การเรียนตกต่ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ
          - เมื่อเจอคนพูดถึงเรื่องที่น่าอับอาย หรือสอบถามถึงสาเหตุของการไม่ไปโรงเรียน เด็กอาจมีอาการกรี๊ด ร้องไห้อย่างหนัก หรือสติหลุด

ผลกระทบจาก Cyberbullying มีอะไรบ้าง

          ผลกระทบจาก Cyberbullying ที่มีต่อเด็ก ๆ อาจมีตั้งแต่สร้างความรำคาญ ความเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนรู้สึกเบื่อชีวิต ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากพบเจอใคร โดยมีเรื่องที่ถูกรังแกตามมาหลอกหลอนเป็นระยะ หรือบางรายอาจมีความเครียดอย่างหนัก ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ และอาจร้ายแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ เป็นผลให้รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

          ส่วนคนที่เป็นฝ่ายรังแก อาจมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความรู้สึกผิดกัดกินใจในภายหลังได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบจาก Cyberbullying ไม่ว่าจะต่อผู้รังแกหรือผู้ถูกรังแกนั้นจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละบุคคล รวมไปถึงทักษะการรับมือของแต่ละคนด้วย


Cyberbullying

วิธีป้องกัน Cyberbullying

          สำหรับการดูแลบุตรหลานไม่ให้เสี่ยง Cyberbullying ผู้ปกครองสามารถทำได้ดังนี้

          1. สอนลูก ๆ ว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น 


          2. คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชทด้วยเป็นใคร 


          3. สอนลูกให้เก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่สนิทสนม ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลส่วนตัว ที่สำคัญควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรนัดเจอกันส่วนตัวกับเพื่อนในโลกออนไลน์โดยเด็ดขาด


          4. ควรกำหนดข้อตกลงกันก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกใช้เครื่องมือสื่อสารและโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกใช้โซเชียลมีเดียยังไง คุยกับใครบ้าง หรือมีความผิดปกติอะไรในนั้นหรือไม่


          5. พ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูก เพื่อให้ลูกไว้วางใจมากพอจะบอกเล่าทุกเรื่องราวในชีวิตเขาได้ เมื่อมีปัญหาอะไรลูกจะได้กล้าขอคำปรึกษากับเรา


          อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวเด็กที่ถูกรังแกผ่านโลกออนไลน์ก็ควรต้องมีสติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ด้วย และอย่าลืมว่าเราสามารถลบข้อความที่สร้างความเสียหายกับเราได้ ทั้งยังสามารถบล็อกคนที่กลั่นแกล้งเราได้ หรือพาตัวเองออกจากสังคมออนไลน์ไปสักระยะ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ต่อไป


          ทั้งนี้ผู้ปกครองก็ควรสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน หากเขามีอาการหงุดหงิดหรือพฤติกรรมแปลกไปหลังเล่นโซเชียลมีเดีย อาจต้องเข้าไปพูดคุยและถามไถ่ถึงสาเหตุเหล่านั้น เป็นการช่วยแชร์ความรู้สึกแย่ ๆ จากสิ่งที่เขาเผชิญอีกทาง รวมทั้งพยายามพาเขาออกห่างจากโลกออนไลน์บ้าง เพื่อลดความเครียดนะคะ
    

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เฟซบุ๊ก ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย